Martin Seligman: จากนักวิจัย ความสิ้นหวัง สู่ผู้ก่อตั้ง จิตวิทยาเชิงบวก

ก่อนปี ค.ศ. 2000 มาร์ติน เซลิกแมน เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ค้นพบปรากฏการณ์ “ความสิ้นหวังที่เกิดจากการเรียนรู้” (learned helplessness) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะซึมเศร้า (depression) แต่หลังจากปี ค.ศ. 2000 เรารู้จักเขาในฐานะผู้ก่อตั้งศาสตร์ “จิตวิทยาเชิงบวก” (positive psychology).อะไรทำให้เขาหันหลังให้ด้านที่มืดมิด และเดินหน้าสู่การศึกษาด้านบวกของมนุษย์?..***** Learned Helplessness *****.ปรากฏการณ์ “ความสิ้นหวังที่เกิดจากการเรียนรู้” (learned helplessness) เป็นงานคลาสสิกชิ้นหนึ่งที่หนังสือจิตวิทยาทั่วไปหรือจิตวิทยาสังคมมักต้องเขียนถึง อันที่จริง ผู้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในห้องทดลองเป็นครั้งแรก คือรุ่นพี่นักศึกษาปริญญาเอกของเซลิกแมนคนหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา.รุ่นพี่คนดังกล่าวตั้งใจจะฝึกให้สุนัขให้เชื่อมโยงเสียงกริ่งกับอันตราย…

Continue Reading

ความรุนแรงในคู่รัก (intimate partner violence): รับได้ไหม และใครผิด?

จากบัณฑิตสาวคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เอกภาษาฝรั่งเศส สู่นิสิตปริญญาเอก แขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ แป้ง - ปิยกฤตา เครือหิรัญ กำลังศึกษาปัญหาสังคมปัจจุบัน เรื่องความรุนแรงในคู่รัก และปัจจัยที่อาจมีผลต่อโอกาสที่เหยื่อจะได้รับความช่วยเหลือ มาฟังแป้งเล่าที่มาที่ไปและข้อค้นพบเบื้องต้นจากงานวิจัยของเธอกันค่ะ..*** ทำไมจึงสนใจเรื่อง ความรุนแรงในคู่รัก? ***.จุดเริ่มต้นที่อยากทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เกิดจากคำถามว่า ปกติขึ้นชื่อว่า “ความรุนแรง” คนทั่วไปก็มองมันในทางลบ เช่น เวลาเราเห็นวัยรุ่นตีกัน หรือคนทำร้ายกัน เรารู้สึกไม่ดีและคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ แต่ทำไมพอมันเกิดขึ้นในบริบทของ “คู่รักหรือครอบครัว” คนจำนวนมากกลับมองว่า…

Continue Reading

องค์กรของคุณกำลังบริหารด้วยความกลัวอยู่หรือเปล่า?

หากย้อนไป 15 ถึง 20 ปีที่แล้ว โนเกีย (NOKIA) เป็นบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับหนึ่งของโลก คงไม่มีใครคิดเลยว่า ปัจจุบันเมื่อพูดถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่กลับแทบไม่มีคนนึกถึงแบรนด์โนเกียอีกต่อไปแล้วเกิดอะไรขึ้นกับโนเกีย?จากงานวิจัยเชิงคุณภาพที่สัมภาษณ์เชิงลึกอดีตผู้จัดการและวิศวกรของโนเกียรวม 76 คน พบว่าในช่วงที่โนเกียตกต่ำจนพ่ายแพ้แอปเปิ้ลและกูเกิ้ลในสงครามสมาร์ทโฟน (ค.ศ. 2005 - 2010) นั้น บรรยากาศในองค์กรคุกรุ่นไปด้วย “ความกลัว” (Vuori & Huy, 2015)ขณะนั้นแอปเปิ้ลและกูเกิ้ลกำลังลงทุนมหาศาลกับการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต่อมากลายเป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ผู้บริหารระดับสูงของโนเกียซึ่งเป็นเจ้าตลาดโทรศัพท์แบบปุ่มกดจึงกดดันให้วิศวกรและผู้บริหารระดับกลางเร่งสร้างโทรศัพท์แบบหน้าจอสัมผัสให้เร็วที่สุดผู้บริหารระดับกลางและวิศวกรของโนเกียรู้ว่าเป้าหมายนั้นไม่สมเหตุสมผล เพราะเทคโนโลยีที่โนเกียมีอยู่ในขณะนั้น พัฒนาให้กลายเป็นโทรศัพท์แบบหน้าจอสัมผัสได้ยาก การวิจัยและพัฒนาระบบใหม่จะต้องใช้เงินสูงมากและใช้เวลานานกว่าที่ผู้บริหารกำหนดหลายปี แต่ไม่มีใครกล้ารายงาน “ข่าวร้าย”…

Continue Reading
Close Menu